หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์กลับมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง นโยบายเศรษฐกิจและมุมมองด้านการค้าระหว่างประเทศของเขาหลาย ๆ อย่างก็เริ่มได้รับความสนใจอีกครั้ง แนวทางการกีดกันทางการค้า การยกเลิกกฎระเบียบ และการลดภาษีแบบเข้มงวดของเขานั้นได้รับการขนานนามจากสื่อว่า “Trump Trade”
ชื่อนี้ฟังดูน่าสนใจแต่ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อที่มีไว้โชว์เพียงเท่านั้น ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นโยบายของทรัมป์ก็ให้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย แม้ว่าภาคเศรษฐกิจบางส่วนจะได้รับประโยชน์ แต่การจ้างงานและการดูแลสุขภาพกลับแย่ลง และหนี้สาธารณะก็เพิ่มขึ้น [1]
และตอนนี้ มีแนวโน้มที่ชัดเจนมากว่าทรัมป์จะกลับมาดำรงตำแหน่งใสทำเนียบขาว เราอาจได้เห็น Trump Trade 2.0 เกิดขึ้น หากสิ่งนี้เกิดขึ้น เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างไร และนักลงทุนควรทำอย่างไรเพื่อเตรียมพร้อม?
ประเด็นสำคัญ
- Trump Trade หมายถึงนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ที่เน้นในการลดภาษี ยกเลิกกฎระเบียบ และขึ้นภาษีศุลกากรเพื่อกระตุ้นการเติบโตของสหรัฐฯ
- นโยบายของทรัมป์ส่งผลดีต่อบางภาคส่วนเช่นการเงินและพลังงาน แต่ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดสงครามการค้า
- หากได้รับเลือกอีกครั้ง นโยบายของทรัมป์อาจเอื้อประโยชน์ต่อตลาดหุ้นและอุตสาหกรรมบางประเภท แต่ก็มีความเสี่ยง เช่น เงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการตอบโต้ดัานภาษีศุลกากร
ทำความเข้าใจ Trump Trade
Trump Trade สามารถสรุปได้ว่าเป็นแนวทางของโดนัลด์ ทรัมป์ในการกระตุ้นการเติบโตในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การควบคุมที่น้อยลง ลดภาษี เพิ่มภาษีศุลกากร และลดการเข้าเมือง
การค้าแบบทรัมป์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมและภาคส่วนเฉพาะ และอาจส่งผลต่อ เงินเฟ้อ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร[2]
ไฮไลท์ของ Trump Trade ในปี 2016 ถึง 2020
เศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ภายใต้การดำรงตำแหน่งของทรัมป์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำและการจ้างงานเติบโตดี เศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้อัตราการว่างงานและ เงินเฟ้อ สูงขึ้นส่งผลให้ทรัมป์ออกจากตำแหน่งโดยมีตำแหน่งงานรวมน้อยกว่าตอนที่เขาเข้ารับตำแหน่ง
นักวิชาการหลายคนชี้ให้เห็นว่าความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่ริเริ่มโดยรัฐบาลโอบามา ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าควรให้เครดิตทรัมป์อย่างเต็มที่สำหรับการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งหรือไม่
การสร้างงานและการเติบโตของค่าจ้าง[3]
ก่อนที่การระบาดใหญ่จะเกิดขึ้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เห็นการเติบโตของงานและค่าจ้าง ซึ่งยังคงต่อเนื่องมาจากช่วงที่เริ่มต้นในรัฐบาลชุดก่อน อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.5% ในปี 2019 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ในขณะเดียวกัน ค่าจ้างก็เพิ่มขึ้นในปี 2018 และ 2019
การลดหย่อนภาษี
นโยบายที่เห็นได้ชัดและเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดของทรัมป์คือกฎหมาย Tax Cuts and Jobs Act ซึ่งได้รับการลงนามเป็นกฎหมายในปี 2018 ถือเป็นการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี
แม้ว่าการปฏิรูปหลายอย่างภายใต้กฎหมายจะกำหนดให้สิ้นสุดลงในปี 2025 แต่การลดหย่อนภาษีก็มีผลกระทบในวงกว้าง บริษัทต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราภาษีอย่างถาวรจาก 35% เหลือ 21% [4] ในขณะเดียวกัน พระราชบัญญัติยังส่งผลกระทบต่ออัตราภาษีเงินได้ มาตรฐานการหักลดหย่อน ภาษีเครดิต และอื่น ๆ สำหรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา
เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การลดหย่อนภาษีดูเหมือนว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุนด้านทุนที่เพิ่มขึ้นในภาคเอกชน ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็แข็งแกร่งขึ้นเนื่องมาจากรายได้หลังหักภาษีที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้
ตลาดหุ้นเฟื่องฟู
ด้วยการจ้างงานที่สูง ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น การลดหย่อนภาษี และเศรษฐกิจโดยรวมที่แข็งแกร่ง ตลาดหุ้นจึงเติบโตได้ดีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากร่วงลงอย่างหนักในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ ดัชนี S&P 500 ก็ทำลายสถิติหลายรายการในช่วงที่ดตลาดหุ้นขาขึ้นที่ยาวนาน ซึ่งกินเวลานานถึงปี 2022 ในทำนองเดียวกัน ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ พุ่งขึ้น 57% ตลอดระยะเวลาที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่ง [5]
หนี้ประจำปี
เศรษฐกิจเฟื่องฟูภายใต้การนำของทรัมป์ต้องแลกมาด้วยต้นทุน การลดหย่อนภาษี รวมไปถึงการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้งบประมาณของรัฐบาลกลางขาดดุลมากขึ้น
ในปี 2021 ตัวเลขขาดดุลประจำปีอยู่ที่ 779 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 984 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 และทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 [6]
มาตรการภาษีศุลกากร
อีกหนึ่งในจุดเด่นของนโยบาย Trump Trade คือการนำมาตรการภาษีศุลกากรมาปรับใช้ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่อการแข่งขันจากต่างประเทศจากการนำเข้าสินค้าราคาถูก
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้คือ “สงครามการค้า” กับจีน โดยรัฐบาลทรัมป์ได้บังคับใช้ภาษีศุลกากรหลายรอบกับสินค้า เช่น เหล็ก อลูมิเนียม เครื่องซักผ้า แผงโซลาร์เซลล์ และสินค้าที่นำเข้าจากจีน ทำให้มีมูลค่าการค้าที่ถูกกระทบไปกว่า 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จีนไม่ใช่คู่ค้ารายเดียวที่ได้รับผลกระทบ ประเทศอื่น ๆ เช่น แคนาดา เม็กซิโก และสหภาพยุโรปก็ถูกเรียกเก็บภาษีการค้าเช่นกัน
มาตรการภาษีศุลกากรเป็นภาษีที่เรียกเก็บภาษีจากสินค้าที่นำเข้าจากประเทศเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับราคาสินค้าดังกล่าวขึ้น เพื่อให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในสหรัฐฯ มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลทรัมป์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ภาษีศุลกากรดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อคนงานชาวอเมริกัน ช่วยให้สหรัฐฯ มีอำนาจต่อรองในการทำข้อตกลงการค้าในอนาคต และปกป้องความมั่นคงของชาติ
อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2024 แสดงให้เห็นว่าภาษีศุลกากรไม่ได้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนงานในสหรัฐฯ ที่เชื่อมโยงภาษีที่บังคับใช้กับสินค้าจากจีนเลย
กลับกัน มาตรการภาษีของทรัมป์ทำให้ประเทศอื่น ๆ ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีกับสินค้าสหรัฐฯ ส่งผลให้คนงานและผู้บริโภคชาวอเมริกันได้รับผลกระทบด้านลบ
จะคาดหวังอะไรได้บ้างหาก Trump Trade กลับมา?
หากทรัมป์กลับมาที่ทำเนียบขาวอีกครั้ง นโยบายเศรษฐกิจของเขาอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ ซึ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ต้องจับตาดู:
ผลกระทบต่อตลาดหุ้น [7]
โดยทั่วไปแล้ว ตลาดหุ้นจะมีผลงานที่ดีในช่วงการเลือกตั้ง โดยมีการเติบโตเฉลี่ยที่ 6.8% ไม่ว่าผู้สมัครคนไหนจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม
ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ไม่มีเหตุผลใดที่จะคาดหวังว่าตลาดหุ้นจะไม่ดำเนินตามแนวโน้มดังกล่าว หากทรัมป์กลับมาที่ทำเนียบขาว คาดว่าเขาจะเดินหน้าในการลดกฎระเบียบ ลดภาษี และเพิ่มการผลิต น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติตามที่ได้ให้คำมั่นในช่วงหาเสียง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกลับมาของทรัมป์อาจหมายถึงการขยายหรือยกเลิกกฎหมาย Tax Cuts and Jobs Act ที่จะหมดอายุในปี 2025 ซึ่งจะส่งผลให้ภาษียังคงลดลงสำหรับทุกคน ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านทุนในภาคเอกชนมากขึ้น และส่งเสริมผลกระตุ้นต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่อไป
จากปัจจัยเหล่านี้ เราคาดว่าตลาดหุ้นจะตอบสนองอย่างดีต่อชัยชนะของทรัมป์ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรคำนึงไว้ว่าผลกระทบจากผู้สมัครแต่ละคน รวมถึงผลการเลือกตั้งด้วย มักไม่มีผลต่อตลาดหุ้นมากนัก นักลงทุนส่วนใหญ่มักตัดสินใจโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ตราบใดที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง เราก็จะเห็นตลาดหุ้นตอบสนองในลักษณะเดียวกัน
ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตร [8]
นโยบายที่สนับสนุนธุรกิจและการยกเลิกกฎระเบียบของทรัมป์ ประกอบกับการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น อาจช่วยทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะร้อนเกินไปจนทำให้เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นอีกครั้ง
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยทางเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ประการที่ใช้ควบคุมเงินเฟ้อได้ หากทรัมป์ได้รับชัยชนะ ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเลือกที่จะคง อัตราดอกเบี้ย ไว้ในระดับสูง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสามารถเข้าแทรกแซงได้มากขึ้นหากอัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงทิศทางและเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
การคงอัตราดอกเบี้ยไวเในระดับสูง อาจทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาพันธบัตรลดลงตามไปด้วย ดังนั้น อาจหมายความว่าหากทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ตลาดพันธบัตรจะซบเซาลง
ผลกระทบต่อความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์
เช่นเดียวกับสกุลเงินทั่วไป ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและแนวโน้มของเศรษฐกิจ หากการคาดการณ์ของ Trump Trade ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงดีขึ้น ดอลลาร์สหรัฐฯ น่าจะยังคงแข็งแกร่งต่อไปหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง
ปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนให้ดอลลาร์ยังคงมีอิทธิพลเหนือตลาด ได้แก่ การที่สกุลเงินอื่น ๆ ของโลกอ่อนค่าลง อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของยูโรโซน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ญี่ปุ่นและจีนเผชิญ
ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้หุ้นของสหรัฐฯ น่าดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการเคลื่อนไหวของดัชนี S&P 500 โดยประมาณ 40% ของเวลา ดัชนีจะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น [9]
แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าอาจช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นก็อาจสร้างปัญหาในส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ส่งออกที่ขายสินค้าให้กับลูกค้าต่างประเทศมักจะพบว่าสินค้าของตนมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกลดน้อยลง บริษัทที่ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศก็อาจพบว่ากำไรลดลงเมื่อแปลงรายได้จากสกุลเงินต่างประเทศกลับเป็นเงินดอลลาร์
ผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ [10]
บริการทางการเงิน
หลังจากที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในปี 2016 ภาคบริการทางการเงินก็ทำผลงานได้ดีกว่าตลาดโดยรวมอย่างมาก แม้ว่าดัชนี S&P 500 จะเพิ่มขึ้นเพียง 3% หลังการเลือกตั้ง แต่ดัชนี S&P Financials กลับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%
การพุ่งสูงนี้ขับเคลื่อนโดยจุดยืนที่สนับสนุนธุรกิจและการยกเลิกกฎระเบียบของทรัมป์ ซึ่งช่วยผลักดันให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากการผ่อนปรนกฎระเบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านเงินทุน
หากทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง คาดว่าทรัมป์จะผ่อนปรนกฎระเบียบต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้นในการขยายการดำเนินงาน เพิ่มหนี้สิ้น และกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมที่ยกเลิกกฎระเบียบดังกล่าวน่าจะช่วยให้ภาคการเงินก้าวขึ้นมาเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ในที่สุด
เทคโนโลยี
คาดว่าภาคเทคโนโลยีจะได้รับประโยชน์จากการที่ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งในทำเนียบขาว เนื่องมาจากการเดินหน้าบังคับใช้กฎหมายลดหย่อนภาษีและการจ้างงาน ซึ่งมีแนวโน้มว่าเขาจะนำไปปฏิบัติต่อไป
เมื่อนำมาตรการนี้มาประกาศใช้ครั้งแรกในปี 2560 การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลครั้งใหญ่จากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 21 ทำให้บริษัทต่าง ๆ ได้รับงประโยชน์จากงบดุลร้อยละ 14 [11] ซึ่งถือเป็นประโยชน์มหาศาลสำหรับบริษัทในภาคเทคโนโลยีที่มีกำไรสูง ส่งผลให้มีการลงทุน การซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น ภาคเทคโนโลยีจึงน่าจะยังคงได้รับผลประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางภาษีที่ต่ำลง ซึ่งจะช่วยผลักดันประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคตได้
พลังงาน [12, 13]
ในปี 2024 สหรัฐฯ กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแท้จริง โดยเป็นผู้นำด้านปริมาณการผลิตเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน ทรัมป์ได้ประกาศความตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำมันที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งวลีเด็ดของเขาคือ “drill, baby, drilling”
ด้วยเหตุนี้ ภาคพลังงาน โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ น่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายที่เป็นมิตรมากขึ้น เนื่องจากทรัมป์ต้องการส่งเสริมการขุดเจาะน้ำมันในประเทศ การเข้าถึงน้ำมันที่มากขึ้นจะช่วยเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของอเมริกา ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างสถานะของประเทศในฐานะผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญ
นอกจากนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซยังจะทำให้มีการสร้างงานมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของภาคส่วนนี้ ขณะเดียวกันก็ยกระดับสถานะของภาคส่วนนี้ในฐานะเครื่องยนต์แห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย
การผลิต [14]
การกลับมาดำเนินนโยบาย Trump Trade น่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกของผู้ส่งออกของสหรัฐฯ ลดน้อยลง และบริษัทต่าง ๆ ที่เก็บรายได้จากต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ในด้านดีคือภาคการผลิตอาจได้รับผลกระทบจากการที่ให้ความสำคัญกับ CHIPS และ Science Act มากขึ้นเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ และลดการพึ่งพาผู้ผลิตในต่างประเทศ
สิ่งนี้อาจส่งผลให้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น การลดหย่อนภาษี และมีแรงจูงใจอื่น ๆ เพื่อเร่งการพัฒนาภาคส่วนนี้ และปูทางให้ภาคส่วนนี้ทำผลงานได้ดีกว่าในอนาคตอันใกล้
โครงสร้างพื้นฐาน
การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในปัญหาไม่กี่ประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองพรรค กฎหมายโครงสร้างพื้นฐานที่ไบเกนลงนามในปี 2021 ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนถึงปี 2026 โดยในขณะนี้ยังคงมีเงินอีกกว่า 490 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร [15]
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับภาคส่วนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืทอทรัมป์ได้รับการคาดหมายว่าจะให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและซ่อมแซมถนน การยกระดับสนามบิน และการปรับปรุงท่าเรือและท่าเทียบเรือของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ ที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง วิศวกรรมโยธา และบริการที่เกี่ยวข้องจึงสามารถได้รับประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของทรัมป์
ผลกระทบระดับโลกของ Trump Trade [16,17]
นี่คือประเด็นสำคัญบางประการที่ควรพิจารณาในกรณีที่ทรัมป์ได้รับชัยชนะ
ภาษีศุลกากรทั่วไปสำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด
ทรัมป์ต้องการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องสัมปทานจากหุ้นส่วนทางการค้า เขาตำหนิระบบการค้าโลกว่าเป็นสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงการสูญเสียตำแหน่งงาน ตลาดต่างประเทศที่ปิดตัวลง และค่าเงินดอลลาร์ที่มีมูลค่าสูงเกินจริง
อย่างไรก็ตาม เมื่อทรัมป์ประกาศใช้ภาษีการค้าในครั้งที่เขาดำรงตำแหน่ง คู่ค้าต่างประเทศก็ตอบโต้ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การกำหนดภาษีการค้าสากลสำหรับการนำเข้าทั้งหมดน่าจะทำให้คู่ค้าส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการตอบโต้ในระดับที่สูงกว่า
สิ่งนี้อาจนำไปสู่ผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก รวมถึงการค้าและการเติบโตของโลกที่ลดลง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และราคาที่สูงขึ้นสำหรับสินค้าทุกประเภท
สงครามการค้าครั้งใหม่กับจีนที่รุนแรงขึ้น
ผู้สมัครพรรครีพับลิกันขู่ว่าจะยกระดับสงครามการค้ากับจีน โดยเพิ่มภาษีศุลกากรเป็นสูงถึง 60% การกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่จะขัดขวางการฟื้นตัวของจีนเท่านั้น แต่ผลกระทบอาจลุกลามไปสู่เศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย
เนื่องจากจีนเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอาจทำให้ระดับเงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้น ส่งผลให้ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบใหม่ ซึ่งจะทำให้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมหภาครุนแรงขึ้น กัดกร่อนให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง และลดผลตอบแทนจากตลาดหุ้น
บทสรุป: ยึดมั่นในกลยุทธ์ที่สมดุล
เห็นได้ชัดว่าการกลับมาของ Trump Trade อาจก่อให้เกิดผลที่ซับซ้อนและกว้างไกล และยากที่จะคาดเดาว่าสิ่งต่าง ๆ จะออกมาเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดแล้ว ความแข็งแกร่งและผลกระทบของนโยบายไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครอยู่ในทำเนียบขาวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยของพรรคการเมืองอื่น ๆ อีกด้วย
เราได้กล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ไว้ครอบคลุมพอสมควรแล้ว ดังนั้นเราจะสรุปโดยกล่าวว่า: การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นในการมองหาโอกาสในการซื้อขาย แต่ควรระวังอย่าลงทุนมากเกินไปโดยอาศัยเพียงติดตามข่าวล่าสุด โปรดจำไว้ว่าสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ
จัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมเพื่อวางเดิมพันในระยะสั้นเมื่อมีโอกาสเกิดขึ้น แต่ต้องแน่ใจว่าจะรักษากลยุทธ์ระยะยาวไว้ด้วย ท้ายที่สุดแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะเข้ามาแล้วก็ออกไป แต่ตลาดยังคงถูกควบคุมโดยปัจจัยพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่
พร้อมที่จะคว้าโอกาสในตลาดที่มีความผันผวนหรือไม่ เปิดบัญชีจริง กับ Vantage วันนี้ และเริ่มซื้อขาย CFD พร้อมข้อมูลเชิงลึกที่คุณต้องการเพื่อรับมือกับความซับซ้อนของ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
อ้างอิง
- “What would a second Trump presidency mean for the global economy? – The Conversation”. https://theconversation.com/what-would-a-second-trump-presidency-mean-for-the-global-economy-239069. Accessed 26 Sept 2024.
- “Is The “Trump Trade” A Good Deal? – JP Morgan”. https://privatebank.jpmorgan.com/eur/en/insights/markets-and-investing/tmt/is-the-trump-trade-a-good-deal. Accessed 26 Sept 2024.
- “Did Trump Create or Inherit the Strong Economy? – Joint Economic Commission”. https://www.jec.senate.gov/public/_cache/files/2c298bda-8aee-4923-84a3-95a54f7f6e6f/did-trump-create-or-inherit-the-strong-economy.pdf. Accessed 26 Sept 2024.
- “What will happen to the Trump tax cuts in 2025, and how will they affect the national debt? – Brookings”. https://www.brookings.edu/articles/what-will-happen-to-the-trump-tax-cuts-in-2025-and-how-will-they-affect-the-national-debt/. Accessed 27 Sept 2024.
- “The Economic Impact of Donald Trump’s Presidency – Investopedia”. https://www.investopedia.com/donald-trump-presidency-economic-impact-8666666. Accessed 26 Sept 2024.
- “U.S. Presidents With the Largest Budget Deficits – Investopedia”. https://www.investopedia.com/ask/answers/030515/which-united-states-presidents-have-run-largest-budget-deficits.asp. Accessed 27 Sept 2024.
- “2024 US Elections: What Impact Could A Trump Win Have on the US Markets? – Moneyweek”. https://moneyweek.com/investments/stock-markets/us-stock-markets/trump-win-impact-on-us-markets. Accessed 26 Sept 2024.
- “The ‘Trump Trade’: What It Is And How It Impacts The Markets – BankRate”. https://www.bankrate.com/investing/trump-trade/. Accessed 26 Sept 2024.
- “How U.S. Stock Prices Correlate to the Value of the U.S. Dollar – Investopedia”. https://www.investopedia.com/ask/answers/06/usdollarcorrelation.asp. Accessed 26 Sept 2024.
- “Elections and Equities: The Impact of the US Election on Sector Investing – State Street Global Advisors”. https://www.ssga.com/sg/en/institutional/insights/impact-of-the-us-election-on-sector-investing. Accessed 26 Sept 2024.
- “How did the Tax Cuts and Jobs Act change business taxes? – Tax Policy Center”. https://www.taxpolicycenter.org/briefing-book/how-did-tax-cuts-and-jobs-act-change-business-taxes. Accessed 27 September 2024.
- “US Leads Global Oil Production for Sixth Straight Year- EIA – Reuters”. https://www.reuters.com/markets/commodities/us-leads-global-oil-production-sixth-straight-year-eia-2024-03-11/. Accessed 26 Sept 2024.
- “Trump Says ‘Drill, Baby, Drill,’ But The Record For US Oil Production Isn’t His – ABC News”. https://abcnews.go.com/Politics/drill-baby-drill-donald-trump-oil-gas-rnc/story?id=112108980. Accessed 26 Sept 2024.
- “US election: Its Impact On Industrial Policy – Economist Intelligence”. https://www.eiu.com/n/us-election-its-impact-on-industrial-policy/. Accessed 26 Sept 2024.
- “U.S. Election Preview: Infrastructure Development is Something Both Sides Can Agree On – Global X ETFS”. https://www.globalxetfs.com/u-s-election-preview-infrastructure-development-is-something-both-sides-can-agree-on/. Accessed 26 Sept 2024.
- “What Across-the-Board Tariffs Could Mean for the Global Economy – The New York Times”. https://www.nytimes.com/2024/08/27/business/trump-tariffs-us-trade.html. Accessed 26 Sept 2024.
- “MAS Says A Change In US Policy Direction After November Polls Would Have Global Impact – The Straits Times”. https://www.straitstimes.com/business/mas-says-change-in-us-policy-direction-post-november-polls-will-have-global-impact. Accessed 26 Sept 2024.