การเทรด CFD คือหนึ่งในช่องทางเข้าร่วมตลาดทุนโดยการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ในบทความนี้ เรามาดูอย่างละเอียดเกี่ยวกับ CFD, วิธีการทำงานและวิธีที่คุณสามารถซื้อขายสัญญาซื้อขายส่วนต่าง
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD): ภาพรวม
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) คือข้อตกลงทางกฎหมายระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่จะเทรดโดยอ้างอิงจากส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของเครื่องมือทางการเงินที่เจาะจง[1]
พูดง่าย ๆ คือ หากราคาปิดของสัญญา CFD สูงกว่าราคาเปิดของสัญญา ผู้ขายจ่ายส่วนต่างให้กับผู้ซื้อ (ผู้ซื้อได้กำไร) ซึ่งเป็นแบบเดียวกันในทางตรงกันข้าม หากราคาปิดของ CFD ต่ำกว่าราคาเปิด ผู้ซื้อจ่ายส่วนต่างเข้าบัญชีผู้ขาย (ผู้ซื้อขาดทุน)
ธรรมชาติของ CFD นี้ทำให้มันเป็นเครื่องมือเฉพาะสำหรับการเทรดทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง เนื่องด้วยราคาผันผวนอย่างรุนแรงในช่วงวัฏจักรตลาดทั้งสอง คุณสามารถใช้ CFD เพื่อใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของราคาในตลาดอ้างอิงและอาจสร้างโอกาสในตลาดจากการวิเคราะห์ ของคุณ
เนื่องจากตลาด CFD มีสภาพคล่องสูง อาจทำให้ ถือได้ว่าเป็นตราสารสำหรับเทรดเดอร์ซึ่งเทรด ระยะสั้นที่มองหาจุดการเข้า เข้าและออกของฐานะการซื้อขายต่าง ๆ อย่างรวดเร็วภายในกรอบเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ CFD ซื้อขายนอกตลาดผ่านโบรกเกอร์และผู้ดูแลสภาพคล่อง ธรรมชาติของ CFD ที่มีคู่สัญญาสองฝ่ายทำให้ไม่สามารถซื้อขาย CFD บนตลาดซื้อขายสำคัญและคุณสามารถเทรด CFD กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง – โบรกเกอร์ของคุณ
CFD ช่วยให้คุณสามารถเทรดหลักทรัพย์และสินทรัพย์มากมาย นี่คือตัวอย่างบางส่วน
- CFD สินค้าโภคภัณฑ์ — ด้วย CFD สินค้าโภคภัณฑ์ คุณสามารถเก็งกำไรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงทองคำ, แร่เงิน, กาแฟ, น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- CFD Forex — CFD คือทางเลือกในการมีฐานะการลงทุนในตลาดเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของคู่สกุลเงินใด ๆ
- CFD ฟิวเจอร์ส — ฟิวเจอร์สและ CFD มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหลายประการ รวมถึงสภาพคล่อง อย่างไรก็ตาม CFD ฟิวเจอร์สทำให้คุณสามารถเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาในสัญญาฟิวเจอร์สโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสัญญาฟิวเจอร์สหรือสินทรัพย์อ้างอิงในฟิวเจอร์สแต่อย่างใด
- CFD หุ้น/ตราสารทุน — CFD ประเภทนี้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของตราสารทุนและหุ้นจริงจากตลาดทั่วโลก
- CFD ดัชนี — หากคุณชอบเทรดหุ้นทั้งตลาดในครั้งเดียว คุณสามารถใช้ CFD ดัชนีเพื่อมีฐานะการลงทุนในดัชนีโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของดัชนี
คุณสมบัติของ CFD
นี่คือคุณสมบัติมาตรฐานบางส่วนของทุก CFD
1. CFD คือตราสารอนุพันธ์
ในบริบทของ CFD ตราสารอนุพันธ์ช่วยให้คุณสามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์จริงแทนที่จะซื้อสินทรัพย์นั้น ดังที่เราจะกล่าวในไม่ช้า ธรรมชาติอนุพันธ์ของ CFD คือข้อได้เปรียบอย่างยิ่ง คุณสามารถสร้างโอกาสการซื้อขายจากสินทรัพย์อ้างอิงโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงแต่อย่างใด
2. CFD ยกระดับการลงทุน
เลเวอเรจคือคุณสมบัติที่ช่วยให้คุณสามารถเทรด CFD โดยไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนเพื่อเปิดฐานะ โบรกเกอร์ของคุณทำให้คุณสามารถซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้น – เงินลงทุนขั้นต่ำที่จำเป็นต่อการเปิดฐานะ CFD
3. CFD ซื้อขายนอกตลาด (OTC)
การเทรด CFD นั้นเป็นการ ดำเนินการระหว่างคุณกับโบรกเกอร์ของคุณเท่านั้น (ไม่มีบุคคลที่สามเกี่ยวข้อง) ด้วยเหตุผลนี้ คุณจะไม่พบ CFD ในตลาดซื้อขายใด ๆ ธรรมชาติของสัญญา CFD รองรับคู่สัญญาเพียงสองฝ่าย: ผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น
ข้อได้เปรียบของการเทรด CFD
ข้อได้เปรียบบางส่วนของการเทรด CFD
1. โอกาสทำกำไรทั้งจากตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง — เพราะ CFD ใช้ประโยชน์จากส่วนต่างของราคา คุณมีโอกาสทำกำไรจากตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง คุณยังได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นของ CFD และสามารถเข้าตลาดได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ
2. ไม่มีวันหมดอายุ — คุณสามารถเทรด CFD โดยไม่มีระยะเวลาจำกัด คุณสามารถเปิดฐานะ CFD ระยะยาวและรอจนกว่าจะถึงเวลาก่อนขายทำกำไร นอกจากนี้ มูลค่าของ CFD ไม่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
3. ต้นทุนการเทรดลดลง — เมื่อเปรียบเทียบกับตราสารเทรดอื่น สัญญา CFD เก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่า โดยปกติแล้ว คุณจะจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์, ค่าคอมมิชชั่น, สเปรดและค่าธรรมเนียมเล็กน้อยเพิ่มเติมเพื่อรักษาฐานะ CFD ให้เปิดอยู่ในระหว่างช่วงเวลาซื้อขาย
4. CFD คือเครื่องมือชั้นเยี่ยมสำหรับการป้องกันความเสี่ยง — คุณสามารถใช้ CFD เพื่อป้องกันความเสี่ยงฐานะอื่นในพอร์ตการซื้อขายของคุณ เพราะ CFD ใช้เงินลงทุนไม่มากในการเปิดฐานะ คุณสามารถเปิดฐานะและสร้างโอกาสการซื้อขายด้วยเงินจำนวนเล็กน้อย
5. ขยายการเทรดของคุณด้วยเลเวอเรจ — CFD ช่วยให้คุณสามารถเทรดด้วยเงินทุนที่มีขนาดใหญ่กว่าเงินฝากจริงของคุณ คุณสามารถควบคุมฐานะที่มีจำนวนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญโดยการใช้เลเวอเรจและเงินลงทุนขั้นต่ำที่กำหนด
6. หลากหลายประเภทตลาด — CFD ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงตลาดทุนนับพันแห่งทั่วโลกโดยไม่ต้องเข้าถึงหลายแพลตฟอร์ม คุณสามารถเทรดกระทั่งตลาดเกิดใหม่อย่างสกุลเงินดิจิทัลโดยใช้ CFD นอกจากนั้น คุณยังสามารถเทรดในตลาดที่ต้องการนอกช่วงเวลาซื้อขายได้อีกด้วย
7. ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง — คุณสามารถเทรด CFD โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง คุณเพียงแค่วางเงินทุนเพื่อเทรดการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์อ้างอิง
ข้อควรระวังของการเทรด CFD
1. เลเวอเรจเป็นดาบสองคม — ถึงแม้คุณจะสามารถสร้างโอกาสการซื้อขายโดยการยกระดับฐานะการลงทุน แต่คุณเสี่ยงที่จะขาดทุนเกินจำนวนเงินทุนที่มีเมื่อคุณใช้เลเวอเรจอย่างไม่ระมัดระวัง การใช้เลเวอเรจมากเกินไปสามารถกวาดเงินในบัญชีของคุณจนเกลี้ยงและทำให้คุณเป็นหนี้กับผู้ให้บริการ CFD ของคุณ
2. การซื้อขายที่มากเกินไป — CFD เสนอช่องทางที่คุ้มค่าในการเทรดบนตลาด เพราะคุณสามารถเทรด ตามระดับมาร์จิ้นที่ต่ำที่โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เสนอ คุณอาจตกหลุมพรางของการซื้อขายมากเกินไป โดยการซื้อขาย มากเกินไปทำให้พอร์ตของคุณมีสถานะ การลงทุนที่มากเกินกว่าที่คุณจะรับมือไหว และเงินทุนที่เหลือของคุณอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมผลขาดทุนที่คุณได้รับ
3. ต้นทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป — การเทรด CFD ระยะสั้นอาจคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของคุณอาจเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของต้นทุนดังกล่าวคือค่าธรรมเนียมการซื้อขายข้ามคืน การเปิดฐานะซื้อหลายสัปดาห์ ค่าธรรมเนียมข้ามคืนของคุณอาจสะสมเพิ่มขึ้นและกระทบต่อผลตอบแทนของคุณ
4. ระดับเลเวอเรจไม่ยืดหยุ่น — ผู้ให้บริการ CFD กำหนดระดับมาร์จิ้นและเลเวอเรจที่ใช้ในแต่ละตลาด คุณไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้และพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงตามระดับดังกล่าว เงื่อนไขเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลาและคุณต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ มิฉะนั้น โบรกเกอร์อาจปิดฐานะปัจจุบันของคุณ
CFD ทำงานอย่างไร
เรามานิยามศัพท์มาตรฐานบางคำที่คุณจะพบเจอขณะที่ซื้อขาย CFD
มาร์จิ้น
มาร์จิ้นคือเงินลงทุนขั้นต่ำที่จำเป็นต่อการเปิดฐานะ CFD กับโบรกเกอร์ของคุณ โบรกเกอร์อนุญาตให้คุณยืมเงินในสัดส่วนตรงกันข้ามกับมาร์จิ้นเพื่อเพิ่มฐานะการลงทุนในตลาดของคุณ คุณสมบัตินี้ (หรือที่รู้จักในชื่อว่า ‘เลเวอเรจ’) สามารถขยายผลตอบแทนของคุณหากใช้อย่างเหมาะสม[2] แต่ก็ขยายผลขาดทุนเช่นกัน
โบรกเกอร์เรียกเก็บมาร์จิ้นเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาฐานะของคุณในช่วงวัฏจักร การเทรดของคุณ คุณอาจต้องฝากเงินเพิ่มเติมเข้าบัญชีเทรดเพื่อเปิดฐานะ CFD เพิ่มเติม
แต่ละโบรกเกอร์มีระดับมาร์จิ้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายภายในและเขตอำนาจตามกฎหมายของคุณ นอกจากนี้ ตราสารการเทรดที่แตกต่างกันอาจมีอัตรามาร์จิ้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง
เลเวอเรจ
เลเวอเรจเพิ่มปริมาณ ขนาดการลงทุนของคุณในตลาดอ้างอิง โดยพื้นฐานแล้ว เลเวอเรจคือเงินกู้ยืมที่โบรกเกอร์มอบให้กับคุณเพื่อครอบคลุมมูลค่าเต็มเมื่อคุณมีเงินฝากขั้นต่ำที่ต้องมีในบัญชีของคุณ[3]
โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เสนอเลเวอเรจในรูปของอัตราส่วน เช่น สูงถึง 500:1
นี่คือตัวอย่างการทำงานของเลเวอเรจฉบับเร่งด่วนเพื่อการสาธิตเท่านั้น
สมมติว่าโบรกเกอร์ของคุณกำหนดระดับมาร์จิ้น 1% ในการเทรด CFD 1,000 สัญญาของบริษัท A โดยราคาต่อหุ้นอยู่ที่ $200
หากไม่ใช้เลเวอเรจ คุณจะต้องจ่ายต้นทุนการเทรดเต็มจำนวนและซื้อ 1,000 หุ้น – ยอดรวม $200,000 เพื่อเปิดฐานะนี้
ด้วยเลเวอเรจ คุณใช้เงินเพียงแค่ 1% หรือ $2,000 เพื่อเปิดฐานะเดียวกันกับโบรกเกอร์ของคุณ
ดังนั้น หากราคาหุ้นบริษัท A เพิ่มขึ้น 10% คุณทำกำไรแบบเดียวกับการซื้อขายเต็มจำนวน แต่มีต้นทุนต่ำกว่ามาก
การวางมาร์จิ้น 1% สำหรับการเทรดนี้หมายความว่าคุณมีอัตราส่วนเลเวอเรจอยู่ที่ 100:1 บางโบรกเกอร์เสนอเลเวอเรจสูงถึง 500:1 ขณะที่บางเจ้าเสนอเลเวอเรจต่ำกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างเลเวอเรจและมาร์จิ้น
มาร์จิ้นและเลเวอเรจมีอยู่ควบคู่กันในทุกการเทรด CFD คุณต้องใช้มาร์จิ้นเพื่อเทรดโดยใช้เลเวอเรจ และเลเวอเรจใช้มาร์จิ้นเพื่อมอบอำนาจในการควบคุมฐานะที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยเงินทุนจำกัด
การซื้อถูกขายแพง vs การขายแพงแล้วซื้อคืนในราคาถูก
เนื่องจาก CFD ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในตลาดอ้างอิง คุณมีโอกาสในการสร้างโอกาสการซื้อขายจากทั้งการซื้อถูกขายแพงและการขายแพงแล้วซื้อคืนในราคาถูก
การซื้อถูกขายแพง
เมื่อคุณเปิดฐานะซื้อในการเทรด คุณได้ซื้อสินทรัพย์เพื่อขายในภายหลังเมื่อราคาเพิ่มขึ้น “เปิดฐานะซื้อ” และ “ซื้อ” เป็นศัพท์ที่เทรดเดอร์รายวันส่วนใหญ่ใช้แทนกันเมื่อเปิดฐานะดังกล่าว[4]
บางแพลตฟอร์มเทรดยังใช้ศัพท์เหล่านี้ โดยบางเจ้าใช้คำว่า “ซื้อ” บนปุ่มการเข้าเทรด ขณะที่บางเจ้าใช้คำว่า “ขึ้น”
การขายแพงแล้วซื้อคืนในราคาถูก
การเปิดฐานะขายอาจเป็นเรื่องค่อนข้างสับสนสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ แตกต่างจากการเปิดฐานะซื้อหลักทรัพย์ที่คุณซื้อสินทรัพย์จริง การขายแพงแล้วซื้อคืนในราคาถูกทำการขายสินทรัพย์ก่อนที่จะซื้อกลับคืนโดยหวังว่าราคาจะตกลงเพื่อที่คุณสามารถขายให้กับเทรดเดอร์คนอื่น[5]
“ขาย” และ “ลง” คือสองวิธีอธิบายฐานะขาย แพลตฟอร์มเทรดยังใช้สองคำนี้แทนกันอีกด้วย
การป้องกันความเสี่ยง
การเทรด CFD คือกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงสามัญสำหรับการบรรเทาผลขาดทุนใด ๆ ในพอร์ตการซื้อขายที่มีอยู่แล้วของคุณ [6]
CFD มีประโยชน์ในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง เพราะคุณใช้เพียงแค่มาร์จิ้นและเลเวอเรจเพื่อเลียนแบบฐานะขายเพื่อป้องกันผลขาดทุนจากฐานะซื้อ
ค่าใช้จ่าย
การเทรด CFD มีค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วย
สเปรด
ทุก CFD มาพร้อมสองราคาอ้างอิง ราคาขาย (Bid) และซื้อ (Offer) โดยราคา Bid คือราคาที่คุณสามารถขายสัญญา CFD ในทางตรงกันข้าม ราคา Offer คือต้นทุนในการเปิดฐานะซื้อ CFD
ราคา Bid มักจะต่ำกว่าราคาตลาดของสินทรัพย์อ้างอิงเล็กน้อย ขณะที่ราคา Offer จะสูงกว่าเล็กน้อย
สเปรดคือส่วนต่างระหว่างสองราคาดังกล่าว[7]
ค่าคอมมิชชั่น
ในกรณีส่วนใหญ่ สเปรดครอบคลุมต้นทุนการเทรด ข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือ CFD หุ้นที่ราคาซื้อและราคาตรงกับตลาดอ้างอิง แต่คุณต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นเพื่อเทรดหุ้น อัตราค่าคอมมิชชั่นจะแตกต่างกันตามแต่ละโบรกเกอร์ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.1%
นั่นทำให้ประสบการณ์การเทรด CFD หุ้นใกล้เคียงกับการเทรดหุ้นจริง
ต้นทุนทางการเงิน
หากคุณต้องการให้ฐานะเปิดข้ามคืน คุณจะต้องจ่ายต้นทุนทางการเงินข้ามคืนแก่โบรกเกอร์เพื่อรักษาฐานะที่เปิดอยู่ของคุณ ฐานะข้ามคืนถือว่าเป็นการลงทุนและโบรกเกอร์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยสำหรับทุกคืนที่ฐานะของคุณยังคงเปิดอยู่
ค่าบริการเพิ่มเติมหรือสิ่งอำนวยความสะดวก
บางโบรกเกอร์เสนอบริการอย่างการรับประกันการปิดฐานะในระดับราคาที่กำหนดโดยมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อย ด้วยบริการดังกล่าว โบรกเกอร์รับประกันที่จะปกป้องฐานะทั้งหมดของคุณจาก Slippage และการขาดทุนอย่างกะทันหัน คุณอาจจ่ายค่าธรรมเนียมอื่น ๆ สำหรับบริการอย่าง
- การเข้าถึงตลาดโดยตรงสำหรับ CFD หุ้น
- ค่ารักษาบัญชี
- ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน
วิธีเทรด CFD
ในการเทรด CFD คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ที่คุณเลือก
ขั้นตอนแรก เปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ที่คุณเลือก คุณสามารถทำตามขั้นตอนที่พบบนเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ และคุณจะมีบัญชีเทรดภายในไม่กี่นาที
โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะขอเอกสารยืนยันตัวตนและหลักฐานถิ่นที่อยู่เพื่อยืนยันบัญชีของคุณ เมื่อยืนยันเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเข้าถึงทุกคุณสมบัติของบัญชีเทรด
2. ฝากเงินเข้าบัญชีเทรดของคุณ
คุณสามารถฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลากหลายช่องทาง ขึ้นอยู่กับตัวเลือกการฝากเงินที่เสนอโดยโบรกเกอร์ของคุณ คุณยังสามารถฝากเงินในสกุลเงินที่ไม่ใช่สกุลเงินท้องถิ่นของคุณ (หากคุณต้องการ) ตัวอย่างเช่น การผูกบัตรเครดิต/บัตรเดบิตกับบัญชีเทรดของคุณเพื่อฝากเงินเข้าบัญชี
หากคุณยังรู้สึกไม่แน่ใจ คุณสามารถเปิดบัญชีทดลองในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความเสี่ยงที่ทำให้คุณสามารถเทรดโดยไม่สูญเสียเงินจริง
3. สร้างแผนการเทรด
กลยุทธ์คือส่วนสำคัญของกิจกรรมการเทรดที่ประสบความสำเร็จ แผนการเทรดช่วยให้คุณกำหนด
- ช่วงเวลาซื้อขาย
- ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- เงินทุนสำหรับเปิดฐานะที่ใช้เลเวอเรจ
- ตลาดสำหรับเทรด
แผนการเทรดช่วยให้คุณตัดสินใจอย่างระมัดระวังเพื่อปกป้องคุณจากการล้างพอร์ต ด้วยแผนการเทรด คุณดำเนินการตัดสินใจดียิ่งขึ้นบนผลตอบแทนที่ต้องการ ผลขาดทุนที่ยอมรับได้และกลยุทธ์การบรรเทาความเสี่ยงที่ปกป้องเงินทุนของคุณ
4, เลือกตลาด CFD สำหรับเทรด
ตลาด CFD มีหลากหลาย และบางโบรกเกอร์เสนอตลาดนับพันแห่งให้คุณเลือก คุณสามารถเลือก
- สินค้าโภคภัณฑ์
- สกุลเงินดิจิทัล
- หุ้น
- ดัชนี
เลือกตลาดที่คุณคุ้นเคยหรือมีความรู้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจเทรดดียิ่งขึ้น
5. เปิดและติดตามคำสั่งการเทรดแรกของคุณ
เมื่อเลือกตลาดเรียบร้อยแล้ว ตัดสินใจต่อว่าจะส่งคำสั่ง ซื้อหรือส่งคำสั่ง ขาย สัญญา CFD มอบโอกาสให้คุณเข้าถึงทั้งสองตัวเลือก
คุณสามารถติดตามฐานะของคุณผ่านหลากหลายช่องทาง โบรกเกอร์ของคุณสามารถ
- ส่งข้อความ SMS หาคุณ
- การแจ้งเตือนทางอีเมล
- การแจ้งเตือนแบบพุช
คุณยังสามารถติดตามฐานะของคุณโดยตรงผ่านแพลตฟอร์มเทรด
6. ปิดคำสั่งการเทรด แรกของคุณ
เมื่อคำสั่งการเทรด ของคุณขยับในทิศทางที่คุณคาดการณ์ไว้ คุณสามารถใช้ปุ่ม “ปิด” เพื่อออกจากการเทรด คุณยังสามารถใช้ปุ่มนี้เพื่อออกจากการเทรดที่ขาดทุนและรับผลขาดทุนที่ยอมรับได้ ในการปิดคำสั่ง ซื้อ ขายสัญญา CFD ของคุณและปิดคำสั่ง ขายโดยการซื้อ CFD
โบรกเกอร์ของคุณจะหักค่าใช้จ่ายจากผลตอบแทนจากการลงทุนหรือเงินทุนของคุณ หากคุณประสบผลขาดทุน
สรุป
CFD สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่เทรดเดอร์เลือกใช้สำหรับเทรด โดยเฉพาะหากคุณป้องกันความเสี่ยงฐานะพอร์ต คุณหรือมีเงินทุนจำกัด คุณรับประโยชน์ จากคุณสมบัติอย่างเลเวอเรจ ค่าใช้จ่ายต่ำและสามารถเข้าถึงหลากกลุ่มสินทรัพย์ คุณสามารถซื้อหรือขายก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของคุณและเทรดในตลาดนับพันแห่ง อย่างไรก็ตาม โปรดระมัดระวังเลเวอเรจ การใช้อย่างไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ผลขาดทุนที่มากกว่าเงินทุนของคุณ
อ้างอิง
- Contract for Difference (CFD). (2022). Retrieved 13 April 2022. https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/finance/contract-for-difference-cfd/ . Accessed on 6 July 2022
- Margin Trading: What It Is And What To Know – NerdWallet. NerdWallet. (2022). Retrieved 13 April 2022, https://www.nerdwallet.com/article/investing/what-is-a-margin-trading-account-and-how-does-it-work . Accessed on 6 July 2022
- Trading Stocks With Leverage. The Balance. (2022). Retrieved 13 April 2022, https://www.thebalance.com/trading-using-leverage-1031047 . Accessed on 6 July 2022
- What Is a Long Position?. (2022). Retrieved 13 April 2022, https://www.investopedia.com/terms/l/long.asp . Accessed on 6 July 2022
- Short Selling. (2022). Retrieved 13 April 2022, https://www.investopedia.com/terms/s/shortselling.asp . Accessed on 6 July 2022
- “A Beginner’s Guide To Hedging”. Investopedia, 2022, https://www.investopedia.com/trading/hedging-beginners-guide/ . Accessed on 6 July 2022
- Spread Definition. (2022). Retrieved 13 April 2022 . https://www.investopedia.com/terms/s/spread.asp . Accessed on 6 July 2022