ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงดำเนินต่อไป ยังคงสร้างความไม่แน่นอนให้กับเทรดเดอร์ทั่วโลก ในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดโลก ห่วงโซ่อุปทาน และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยรวม
ประเด็นสำคัญ
- สหรัฐฯ กำหนดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนสูงถึง 125% ส่งผลให้ตลาดเกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง และจีนก็มีมาตรการตอบโต้เช่นกัน
- ภาคเทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า เกษตรกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรง
- ในสภาพการณ์เช่นนี้ เทรดเดอร์พิจารณาใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ปลอดภัย การซื้อขายระยะสั้น และการลงทุนระยะยาว โดยอิงตามระดับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลและการวิเคราะห์ตลาดเพื่อจัดการความเสี่ยง
ไทม์ไลน์ของเหตุการณ์และการประกาศ
นี่คือไทม์ไลน์ของเหตุการณ์สำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่งครั้งที่สองของทรัมป์ [1] :
9 เมษายน 2568
- ประกาศ – ทรัมป์ตัดสินใจหยุดการขึ้นภาษีเป็นเวลา 90 วันสำหรับสินค้าทุกประเภท โดยไม่รวมจีน: เพียง 13 ชั่วโมงหลังจากมีการบังคับใช้ภาษี ทรัมป์ตัดสินใจหยุดชั่วคราวเป็นเวลา 90 วันสำหรับคู่ค้ามากกว่า 75 ประเทศ โดยคงไว้แค่ภาษีพื้นฐานเพียง 10% [2,3] ยกเว้นจีนประเทศเดียว โดยทรัมป์ประกาศเพิ่มภาษีตอบโต้เป็น 125% เพื่อตอบโต้ภาษี 84% จากจีน [4]
- มีผลบังคับใช้ – ภาษีนำเข้าสินค้าจีนรวม 104%: สหรัฐฯ ได้ดำเนินการบังคับใช้การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างรุนแรงตามคำสั่งของทรัมป์อย่างเป็นทางการ ทำให้อัตราภาษีรวมเพิ่มขึ้นเป็น 104% ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์
- ประกาศ – จีนตอบโต้ด้วยภาษีนำเข้า 84% : จีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯที่อัตรา 84% เพื่อตอบโต้ภาษีใหม่จากสหรัฐฯ ประกาศในวันเดียวกัน ซึ่งยิ่งทำให้ความตึงเครียดระหว่างสองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น
8 เมษายน 2568
- ประกาศ – ขึ้นภาษีนำเข้าจีน 104%: เพื่อตอบโต้การขึ้นภาษีนำเข้า 34% ของจีน ทรัมป์ประกาศแผนที่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนอีก 50% หากจีนไม่ยอมถอยภายในสวันที่ 8 เมษายน ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีนำเข้ารวมเป็น 104% [5]
5 เมษายน 2568
- บังคับใช้แล้ว – ภาษี “วันปลดปล่อย” 10% สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าเกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐ: สหรัฐฯ เริ่มจัดเก็บภาษีศุลกากรสากล 10% สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าเกินเกณฑ์ขั้นต่ำ 800 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับสินค้า USMCA ส่วนใหญ่และรหัส HS บางรายการ [6]
4 เมษายน 2568
- ประกาศ – จีนกำหนดภาษีตอบโต้สินค้าจากสหรัฐฯ 34% : จีนประกาศกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภทจากสหรัฐฯ 34% มีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 เมษายน พร้อมด้วยข้อจำกัดในการส่งออกแร่หายากและมาตรการคว่ำบาตรองค์กรด้านกลาโหมของสหรัฐฯ จำนวน 30 แห่ง ส่งผลให้ข้อขัดแย้งทางการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น
- ประกาศ – การยกเลิกการยกเว้นภาษีขั้นต่ำของสหรัฐฯสำหรับสินค้าจีน: ทรัมป์ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารที่ยุติการยกเว้นภาษีมูลค่า 800 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับการขนส่งมูลค่าต่ำจากจีน ฮ่องกง และมาเก๊า โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 พฤษภาคม
2 เมษายน 2568
- ประกาศ – “วันปลดปล่อย” ภาษีศุลกากรสากล 10% ของสหรัฐฯ : ทรัมป์ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนว่าเป็น “วันปลดปล่อย” และประกาศภาษีศุลกากรพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน โดยจีนถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเติม 34% ทำให้อัตราภาษีศุลกากรรวมเพิ่มขึ้นเป็น 54% ซึ่งถือเป็นการขึ้นภาษีศุลกากรครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930
4 มีนาคม 2568
- มีผลบังคับใช้แล้ว – ภาษีศุลกากรต่อสินค้าจีน : การจัดเก็บภาษีศุลกากร 20% สำหรับสินค้าจีนมีผลบังคับใช้แล้ว
3 มีนาคม 2568
- ประกาศ – กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 20% : คำสั่งฝ่ายบริหารฉบับใหม่กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนจาก 10% เป็น 20% มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มีนาคม เนื่องจากจีนไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานสารโอปิออยด์สังเคราะห์
2 มีนาคม 2568
- ขยายเวลายกเว้นภาษีขั้นต่ำสำหรับสินค้าจีน: สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะคงการยกเว้น 800 เหรียญสหรัฐฯ ไว้จนกว่าศุลกากรจะอัปเกรดระบบของตนให้สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
27 กุมภาพันธ์ 2568
- ประกาศ – ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนอีก 10%: ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีนทุกประเภทเป็นครั้งที่ 2 อีก 10% โดยจะเพิ่มอัตราภาษีทั้งหมดเป็น 20% ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม
10 กุมภาพันธ์ 2568
- มีผลบังคับใช้แล้ว – จีนกำหนดภาษีตอบโต้: จีนกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐฯ ในอัตรา 10-15% ซึ่งครอบคลุมถึงน้ำมันดิบ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลการเกษตร ถ่านหิน และ LNG
7 กุมภาพันธ์ 2568
- กลับมาใช้การยกเว้นภาษีขั้นต่ำสำหรับสินค้าจีน: สหรัฐฯ กลับมาใช้การยกเว้นภาษีสำหรับการขนส่งที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญสหรัฐฯ เป็นการชั่วคราวจนกว่าระบบศุลกากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ [7]
4 กุมภาพันธ์ 2568
- มีผลบังคับใช้ – ภาษีนำเข้าจากจีน 10%: ภาษีนำเข้า 10% ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว
- มีผลบังคับใช้ – ยกเลิกการยกเว้นขั้นต่ำสำหรับการนำเข้าจากจีน: สินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญสหรัฐ จากจีนจะต้องเสียภาษี 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเติมจากภาษีที่คงอยู่เดิม
- ประกาศ – จีนกำหนดภาษีตอบโต้: จีนประกาศกำหนดภาษี 10-15% สำหรับสินค้าบางรายการของสหรัฐฯ (จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์) และยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก
1 กุมภาพันธ์ 2568
- ประกาศ – ภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 10%: ทรัมป์ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภทจากจีน10% จะเริ่มมีผลในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับบทบาทของจีนในการควบคุมสารเฟนทานิล
- ประกาศ – ยกเลิกการยกเว้นภาษีขั้นต่ำสำหรับสินค้ามูลค่าต่ำของจีน: สินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญสหรัฐ จากจีนและฮ่องกงจะถูกเก็บภาษี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการยกเว้นภาษีศุลกากรก่อนหน้านี้
มาตรการขึ้นภาษีล่าสุดของสหรัฐฯ
รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งอาจสูงถึง 125% สำหรับสินค้าบางประเภท โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายน สหรัฐฯ ได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 104%
ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับการเรียกเก็บภาษีศุลกากรกับคู่ค้าทั้งหมด ยกเว้นจีนเป็นเวลา 90 วัน ติดตามการอัปเดตอัตราภาษีศุลกากรได้ที่นี่
มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้ราคาสินค้าที่พึ่งพาการผลิตของจีนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทุนราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่แท้จริงยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ในตลาด
ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในตลาดเกิดขึ้นแล้ว เช่น ราคาหุ้นของ Apple (NASDAQ: APPL) ร่วงลง 20% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งการหยุดการขึ้นภาษีนำเข้า 90 วันล่าสุดทำให้ราคาหุ้นดีดตัวขึ้น 15% ในวันที่ 10 เมษายน [8]
มาตรการตอบโต้ของจีน
เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ โดยตรง จีนได้ออกมาตรการภาษีตอบโต้สูงถึง 84% สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐฯ [9] การกระทำเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเพยงแค่ภาษีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้มาตรการควบคุมการส่งออกแร่หายากและเปิดการตรวจสอบบริษัทสหรัฐฯ เช่น Google และ Nvidia ด้วยการสอบสวนเรื่องการผูกขาด [10]
นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวมาตรการทางการคลังในทันทีแล้ว จีนยังประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้ค่าเงินหยวนของตนอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงเพื่อทำให้สินค้าส่งออกของตนมีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจมากขึ้นในตลาดโลก ในทางกลับกัน รัฐวิสาหกิจของจีนได้ทยอยเข้าซื้อหุ้นในตลาดอย่างมีกลยุทธ์เพื่อช่วยพยุงเสถียรภาพของตลาดการเงิน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปักกิ่งกำลังเตรียมพร้อมสำหรับความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่อาจยืดเยื้อ [11]
จีนระบุว่าจะยังคงดำเนินมาตรการตอบโต้หากสหรัฐฯ ยังคงกดดันต่อไป ขณะที่ภาษีศุลกากรใหม่นี้อาจกำหนดเป้าหมายไปยังเศรษฐกิจเอเชียหลายแห่ง นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวต่อไป ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ (ยกเว้นจีน) ได้รับการผ่อนผันเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน
อ่านเกี่ยวกับวิธี การหยุดชะงักของการซื้อขายในตลาด เอเชีย
การเจรจาการค้าและแถลงการณ์ทางการทูต [12]
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนดูเหมือนจะหยุดชะงักลง ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ JD Vance ให้สัมภาษณ์พร้อมถ้อยคำที่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งผลให้หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนตอบโต้ว่า “เป็นคำพูดที่โง่เขลาและไร้ความเคารพ” [13 ]
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2025 ประธานาธิบดีทรัมป์ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 50% หากจีนไม่ยกเลิกมาตรการภาษีตอบโต้ ขณะที่ที่ปรึกษาอาวุโสจากสถาบันวิจัย เช่น China Center ที่ The Conference Board เตือนว่าหากจีนยอมอ่อนข้อเพียงฝ่ายเดียว อาจทำให้จุดยืนในการเจรจาของจีนอ่อนแอลง และเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ มีอำนาจต่อรองมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจนำไปสู่ความท้าทายทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยตลาดการเงินโลกแสดงสัญญาณความผันผวนอยู่แล้ว หุ้นเอเชียร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างแรงหลังจากที่ทรัมป์ประกาศระงับการขึ้นภาษีนำเข้าเป็นเวลา 90 วัน
ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
สหรัฐอเมริกาและจีนเป็นพันธมิตรทางการค้ารายใหญ่สองรายของโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวมรายปีเกิน 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐ [14]
จีนเป็นผู้นำในการส่งออกมายังสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่สหรัฐฯ ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เครื่องบิน และเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับจีน
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของภาษีศุลกากรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกำลังสร้างความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศนี้ โดยส่งผลกระทบในวงกว้างต่อหลายภาคส่วน
เทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์
การค้าดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทาน: ภาคเทคโนโลยียังคงเป็นแนวหน้าของความขัดแย้งทางการค้านี้ โดยที่ภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงที่กระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนทันที และความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานในระยะยาว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Apple ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ ความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาของ iPhone และ Mac ที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดแถวรอที่ยาวเหยียดหน้าร้าน Apple Store ในสหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภครีบเร่งซื้อสินค้าก่อนที่ราคาที่ปรับขึ้นจะมีผล
ความท้าทายด้านเซมิคอนดักเตอร์: สหรัฐฯ ได้ดำเนินการตามมาตรการเพื่อจำกัดการเข้าถึงไมโครชิปขั้นสูงของจีน ซึ่งจำเป็นสำหรับปัญญาประดิษฐ์และแอปพลิเคชันล้ำสมัยอื่น ๆ มาตรการจำกัดนี้ พร้อมกับอุปสรรคเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ยังเสี่ยงที่จะขัดขวางความทะเยอทะยานด้านเทคโนโลยีของจีน และขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้สหรัฐฯ มองหาพันธมิตรด้านเซมิคอนดักเตอร์รายใหม่
ยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่
การผลิตแบตเตอรี่: แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ถือเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาษีศุลกากรในปัจจุบัน เมื่อแบตเตอรี่เหล่านี้มีราคาแพงขึ้น ต้นทุนของ EV ก็อาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลต่ออัตราการยอมรับของผู้บริโภคต่อ EV
การควบคุมทรัพยากรเชิงกลยุทธ์: ทั้งสองประเทศกำลังใช้ภาษีศุลกากรและกฎระเบียบเพื่อควบคุมการจัดหาแหล่งวัตถุดิบหลักของโลก เช่น ลิเธียม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนและการเคลื่อนที่ด้วยไฟฟ้าทั่วโลก
เกษตรกรรมและสินค้าโภคภัณฑ์
ผลกระทบด้านเกษตรกรรมของสหรัฐฯ: ในด้านการส่งออก ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของสหรัฐฯ โดยเฉพาะถั่วเหลือง ได้ตกเป็นเป้าหมายของมาตรการภาษีตอบโต้ของจีน ถั่วเหลืองมีความสำคัญต่อการเลี้ยงหมูของจีนซึ่งมีอยู่ประมาณ 440 ล้านตัว และการหยุดชะงักนี้อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารและราคาอาหารทั่วโลก
สินค้าโภคภัณฑ์ภายใต้แรงกดดัน: ลักษณะที่เชื่อมโยงกันของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐฯ และจีน หมายความว่าการปรับขึ้นภาษีศุลกากรอาจทำให้กระแสการค้าโลกหยุดชะงัก ปัจจุบัน สหรัฐฯ ขาดดุลกับจีนที่เกือบ 295 พันล้านดอลลาร์ และภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในสมการนี้ เกษตรกรและผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนมากขึ้น
สินค้าอุปโภคบริโภคและค้าปลีก
สินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้รับผลกระทบ: สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สมาร์ทโฟน ของเล่น และเครื่องเล่นวิดีโอเกม คาดว่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากภาษีศุลกากรที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟนคิดเป็นประมาณ 9% ของการบริโภคสมาร์ทโฟนทั้งหมดในสหรัฐฯ ที่นำเข้าจากจีน ซึ่งทำให้ผู้ค้าปลีกต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาอัตรากำไร และจัดการกับความคาดหวังของผู้บริโภค
ความผันผวนของตลาดค้าปลีก: ผลกระทบจากภาษีศุลกากรไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมเท่านั้น ผู้ค้าปลีก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพึ่งพาสินค้าที่นำเข้าเป็นอย่างมาก อาจต้องเผชิญกับการหยุดชะงักของการจัดหา ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และช่วงเวลาปรับตัวที่ท้าทาย เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกกำลังปรับทิศทางใหม่
ปฏิกิริยาของตลาดต่อการใช้มาตรการภาษีของสหรัฐฯ และการพักชำระภาษี 90 วัน
การที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 125% ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนในตลาดการเงินทั่วโลก ส่งผลให้ดัชนีหลักต่าง ๆ ตอบสนองแตกต่างกันออกไป และเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศหยุดพักการชำระภาษีเป็นเวลา 90 วัน ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความเคลื่อนไหวของตลาด
ดัชนี [15]
หลังจากที่ทรัมป์ประกาศหยุดเก็บภาษีนำเข้าเป็นเวลา 90 วันในวันที่ 9 เมษายน ตลาดหุ้นเอเชียก็มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตดังนี้:
ก่อนที่จะมีการพักภาษี 90 วัน:
- ดัชนี CSI 300 ของจีน ลดลง 7 % เมื่อวันที่ 7 เมษายน สะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าที่เพิ่มมากขึ้น
- ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง: ดัชนี Hang Seng เผชิญแรงกดดันอย่างหนัก โดยลดลง 8% เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2550 ซึ่งถือเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2540
- ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น: ดัชนี Nikkei 225 ประสบกับความผันผวนอย่างมาก โดยร่วงลงเกือบ 8% ในวันจันทร์หลังจากการดำเนินการด้านภาษีศุลกากร ซึ่งถือเป็นการร่วงลงครั้งใหญ่เป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์
- ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้: ดัชนี Kospi ลดลง 5.57% เมื่อวันที่ 7 เมษายน สะท้อนถึงความกังวลในวงกว้างในภูมิภาค
หลังจากประกาศพักภาษี 90 วัน:
- ดัชนี CSI 300 ของจีน: เมื่อวันที่ 10 เมษายน ดัชนี CSI 300 เพิ่มขึ้น 0.99% แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวเล็กน้อย
- ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง: ดัชนี Hang Seng เพิ่มขึ้น 1.8% ฟื้นตัวบางส่วนจากการขาดทุนก่อนหน้านี้
- ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น: เมื่อวันที่ 10 เมษายน ดัชนี Nikkei 225 พุ่งขึ้น 8.45% สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับมาอีกครั้ง
- ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้: ในทำนองเดียวกัน ดัชนี Kospi เพิ่มขึ้นประมาณ 5% ซึ่งบ่งชี้ถึงการตอบสนองของตลาดที่เป็นบวก
เงินหยวนของจีน
ค่าเงินหยวนของจีนยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงกดดันจากความตึงเครียดด้านการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ธนาคารกลางจีนได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงประจำวันไว้ที่ 7.2066 ต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าอ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 [16]
อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในประเทศลดลงเหลือ 7.3499 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเกือบจะแตะระดับสำคัญ 7.3510 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 [17] การอ่อนค่าดังกล่าวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนสะท้อนถึงความกังวลของตลาดที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามภาษีที่ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนและความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดการเงินของจีน
แม้ว่าธนาคารของรัฐจีนจะพยายามรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน เช่น การขายดอลลาร์สหรัฐในตลาดภายในประเทศ แต่แนวโน้มโดยรวมยังคงเป็นขาลง นักวิเคราะห์ชี้ว่า การควบคุมค่าเงินให้ค่อย ๆ อ่อนค่าลงอย่างมีแบบแผน เป็นกลยุทธ์ของจีนเพื่อชดเชยผลกระทบจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ โดยไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในระบบการเงิน
เนื่องจากไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากสหรัฐฯ ค่าเงินหยวนจึงอาจเผชิญแรงกดดันให้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนไม่ได้รับการยกเว้นจากการหยุดการเรียกเก็บภาษีศุลกากร 90 วัน ทำให้ค่าเงินหยวนกลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับผู้ซื้อขายที่ติดตามทิศทางของสงครามการค้าในระยะต่อไป
สิ่งที่นักเทรดควรจับตา
เทรดเดอร์ควรติดตามความผันผวนของตลาดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในภาคส่วนที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากจีนเป็นหลัก
การประกาศนโยบายที่กำลังจะมีขึ้น
- แถลงการจากทำเนียบขาว: นอกเหนือจากการระงับภาษีศุลกากร 90 วันล่าสุดแล้ว ควรติดตามประกาศจากทำเนียบขาวเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหรือการออกมาตรการภาษีใหม่เพิ่มเติม
- การเจรจาการค้า: แม้ว่าทรัมป์จะเปิดการเจรจาการค้ากับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ แต่จีนยังไม้ได้รวมอยู่ในรายชื่อ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงแสดงความพร้อมสำหรับการเจรจากับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ [18 ]
- การดำเนินการทางนิติบัญญัติ: อาจมีการดำเนินการของรัฐสภา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายภาษีศุลกากร เช่น ร่างกฎหมายที่กำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐสภาก่อนที่จะมีการเรียกเก็บภาษีศุลกากรใหม่
รายงานผลกำไรจากภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ [19, 20, 21]
ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายงานผลประกอบการจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เทคโนโลยี: บริษัทอย่าง Apple อาจรายงานว่าผลประกอบการได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
การค้าปลีก: ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่มีห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงกับจีนอาจเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและอัตรากำไรที่ลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคอาจเพิ่มขึ้น
เกษตรกรรม: เกษตรกรสหรัฐมีแนวโน้มที่จะสูญเสียรายได้จากการที่จีนเรียกเก็บภาษีตอบโต้ต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ส่งผลให้การส่งออกลดลงและมีความไม่แน่นอนทางรายได้เพิ่มมากขึ้น
การผลิต: อัตราภาษีที่สูงขึ้นสำหรับเหล็กและอลูมิเนียมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรและขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และการก่อสร้าง
การประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และจีนและการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจ [22]
คาดว่าผู้นำระดับสูงของจีนจะจัดการประชุมระดับสูงในสัปดาห์นี้เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและตลาดทุน โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ จะร่วมกันพิจารณานโยบายที่มุ่งเน้นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ สนับสนุนตลาด และอาจนำการลดหย่อนภาษีส่งออกมาใช้ด้วย
การประชุมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่เพิ่มมากขึ้นในกรุงปักกิ่ง เนื่องจากเผชิญกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการทางการค้าของสหรัฐฯ
การจัดการความเสี่ยงในสภาวะที่ผันผวน
ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น การจัดการความเสี่ยงจึงมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์และนักลงทุนมากกว่าที่เคย
การซื้อขายสินทรัพย์ปลอดภัย
ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง เทรดเดอร์มักหันไปลงทุนใน สินทรัพย์ปลอดภัย แบบดั้งเดิม
ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าไว้ได้ในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน โดยความต้องการมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ทวีความรุนแรง ในทำนองเดียวกัน พันธบัตรกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงและการรักษาเงินทุน
การรวมสินทรัพย์เหล่านี้เข้าในพอร์ตการลงทุนของคุณอาจช่วยสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เปลี่ยนแปลงไป
โอกาสในกลยุทธ์ระยะสั้นเทียบกับระยะยาว
สภาพแวดล้อมทางตลาดในปัจจุบันเปิดโอกาสให้กับกลยุทธ์การลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นักลงทุนระยะสั้นอาจใช้ประโยชน์จากความเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความตึงเครียดทางการค้า เช่น เทคโนโลยี สินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ในทางกลับกัน นักลงทุนระยะยาวอาจมองเห็นโอกาสในหุ้นที่ถูกขายมากเกินไป หรือภาคส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าจริงที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง
ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรเชิงกลยุทธ์ หรือการสร้างพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายและยืดหยุ่นเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญคือ การมีวินัยและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ติดตามข่าวสารกับ Vantage
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงดำเนินอยู่ การติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ความเคลื่อนไหวของตลาด และการพัฒนาในแต่ละภาคส่วนอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันความเสี่ยงหรือมองหาโอกาสใหม่ การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่ทันท่วงทีและเครื่องมือการซื้อขายที่เชื่อถือได้สามารถช่วยให้คุณมีความได้เปรียบทางการแข่งขันได้
ลงทะเบียนบัญชี Vantage และสำรวจเครื่องมือการซื้อขายอันทรงพลังและข้อมูลเชิงลึกทันเหจุการณ์ เพื่อช่วยให้คุณนำหน้าการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
อ้างอิง:
- “2025 U.S. tariffs – Zonos” https://zonos.com/docs/guides/2025-us-tariff-changes. Accessed 10 April 2025.
- “What just happened? Making sense of Trump’s tariff pause – The Straits Times” https://www.straitstimes.com/business/economy/what-just-happened-making-sense-of-trumps-tariff-pause. Accessed 10 April 2025.
- “Trump tariffs: ‘Do not retaliate and you will be rewarded,’ White House says – CNBC” https://www.cnbc.com/2025/04/09/trump-tariffs-live-updates.html. Accessed 10 April 2025.
- “US pauses higher tariffs for most countries after market havoc, but hits China harder – BBC”. https://www.bbc.com/news/articles/c5y66qe404po. Accessed 10 April 2025.
- Trump Threatens to Slap an Additional 50% Tariff on China – The Wall Street Journal” https://www.wsj.com/livecoverage/stock-market-trump-tariffs-trade-war-04-07-25/card/trump-threatens-higher-tariffs-on-china-in-new-social-media-post-FBdyJkNi4IjF8qmBtx59?. Accessed 10 April 2025.
- “What’s in Trump’s sweeping new reciprocal tariff regime – Reuters” https://www.reuters.com/world/us/whats-trumps-sweeping-new-reciprocal-tariff-regime-2025-04-03/. Accessed 10 April 2025.
- “Trump pauses de minimis repeal as packages pile up at US customs – Reuters” https://www.reuters.com/business/trump-signs-order-delaying-tariffs-de-minimis-imports-china-2025-02-07/. Accessed 10 April 2025.
- “Apple Inc. – MarketWatch” https://www.marketwatch.com/investing/stock/aapl. Accessed 10 April 2025.
- “China slaps 84% retaliatory tariffs on U.S. goods in response to Trump – CNBC” https://www.cnbc.com/2025/04/09/china-slaps-retaliatory-tariffs-of-84percent-on-us-goods-in-response-to-trump.html. Accessed 10 April 2025.
- “China announces measures against Google, other US firms, as trade tensions escalate – Reuters” https://www.reuters.com/technology/china-anti-monopoly-regulator-launches-probe-into-google-2025-02-04/. Accessed 10 April 2025.
- “Exclusive: China’s central bank asks state lenders to reduce dollar purchases, sources say – Reuters” https://www.reuters.com/world/china/chinas-central-bank-asks-state-lenders-reduce-dollar-purchases-sources-say-2025-04-09/. Accessed 10 April 2025.
- “China is not backing down from Trump’s tariff war. What next? – BBC” https://www.bbc.com/news/articles/ckg51yw700lo. Accessed 10 April 2025.
- “Beijing attacks JD Vance’s ‘Chinese peasants’ remark in tariffs interview – The Guardian” https://www.theguardian.com/world/2025/apr/08/beijing-attacks-jd-vances-chinese-peasants-remark-in-tariffs-interview. Accessed 10 April 2025.
- “Total value of U.S. trade in goods (export and import) with China from 2014 to 2024 – Statista” https://www.statista.com/statistics/277679/total-value-of-us-trade-in-goods-with-china-since-2006/. Accessed 10 April 2025.
- “Hang Seng Index sidesteps bear trap as Trump’s tariff kick-off mauls Asia-Pacific markets – South China Morning Post” https://www.scmp.com/business/china-business/article/3305755/hong-kong-stocks-fall-following-rebound-us-tariffs-china-loom-large?module=latest&pgtype=homepage. Accessed 10 April 2025.
- “Beijing signals determination to defend currency after offshore yuan tumbles to record low – South China Morning Post” https://www.scmp.com/economy/china-economy/article/3305751/offshore-yuan-hits-record-low-us-readies-additional-50-tariffs-imports-china. Accessed 10 April 2025.
- “Yuan falls to 2007 lows as US tariffs on China kick in – Reuters” https://www.reuters.com/markets/currencies/yuan-falls-2007-lows-us-tariffs-china-kick-2025-04-09/. Accessed 10 April 2025.
- “The United States and China are locked in a faceoff over tariffs. No one wants to blink first – ABC News” https://abcnews.go.com/US/wireStory/united-states-china-locked-faceoff-tariffs-blink-120656265. Accessed 10 April 2025.
- “Tariff-related iPhone price increases estimated to be lower than feared – AI” https://appleinsider.com/articles/25/04/07/new-post-tariff-iphone-cost-estimate-comes-in-much-lower-at-just-29-more. Accessed 10 April 2025.
- “Trump’s Tariffs Disrupt Global Sportswear; Shenzhou, Amer, and Asics Face Earnings Pressure – Morningstar” https://www.morningstar.com/company-reports/1272780-trumps-tariffs-disrupt-global-sportswear-shenzhou-amer-and-asics-face-earnings-pressure. Accessed 10 April 2025.
- “Trump Tariff: Sectors That Are Worst Hit – Analytics Insight” https://www.analyticsinsight.net/photo/trump-tariff-sectors-that-are-worst-hit. Accessed 10 April 2025.
- “Exclusive-China to hold high-level meeting in response to US tariffs, say sources – MSN” https://www.msn.com/en-ca/money/general/exclusive-china-to-hold-high-level-meeting-in-response-to-us-tariffs-say-sources/ar-AA1CzPoZ. Accessed 10 April 2025.