ภาษีการค้าของทรัมป์กำลังจุดชนวนให้เกิดสงครามการค้าระหว่างสองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก การพัฒนานี้ทำให้ตลาดทั่วโลกเกิดความหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าคุณอาจรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการปกป้องพอร์ตโฟลิโอของคุณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์และมองไปไกลกว่าความวุ่นวายในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นทิศทางที่แท้จริงของสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสในอนาคตได้ดีขึ้น
เพื่อจุดประสงค์นั้น เรามาดูกันว่าการค้าโลกมีแนวโน้มที่จะถูกปรับเปลี่ยนอย่างไรในแง่ของภาษีการค้าที่เพิ่งประกาศใหม่
ประเด็นสำคัญ
- ภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดผันผวนมากขึ้น และทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
- เอเชียกำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการค้า ดึงดูดการลงทุน และการย้ายซัพพลายเชนจากจีน
- ตลาดเกิดใหม่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในหมู่นักลงทุนที่ต้องการมองหาการกระจายความเสี่ยงและศักยภาพในการเติบโตที่สูงขึ้นนอกสหรัฐอเมริกา
ตลาดสหรัฐฯ – เรื่องราวการเติบโตกำลังชะลอตัวลงหรือไม่?
ภาษีการค้าของทรัมป์มุ่งหวังที่จะให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้รับประโยชน์โดยทำให้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้บริษัทในประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยุติธรรมมากขึ้น นำงานกลับคืนสู่สหรัฐฯ และส่งเสริมให้ชาวอเมริกันซื้อสินค้าในประเทศ ส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นที่ต่างออกไป โดยระบุว่าการขึ้นราคาสินค้าจากต่างประเทศจะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ตกต่ำลง นักวิเคราะห์จาก Tax Foundation คาดการณ์ว่า GDP จะลดลงถึง 1% ในปี 2025 [1]
ความคิดเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิกตอเรียของออสเตรเลีย ซึ่งคาดการณ์ว่า GDP จะลดลง 2% ในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเฉลี่ย 1.6% ในอีก 15 ปีข้างหน้า [2]
ตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลว่าเหตุใดทรัมป์จึงเปลี่ยนท่าทีอย่างฉับพลันด้วยการหยุดดำเนินการการเก็บภาษีเป็นเวลา 90 วัน เป็นที่ชัดเจนว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐฯ นั้นจะรุนแรงและยาวนาน และการพิจารณาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในภายหลัง
แต่สิ่งนี้มีความหมายต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไร โดยเฉพาะในระยะยาว? เราได้เห็นการลดลงอย่างรวดเร็วของดัชนีตลาดหลักทั้ง 3 ได้แก่ S&P 500, Nasdaq และ Dow Jones ตามมาด้วยการฟื้นตัวระยะสั้นเมื่อมีการประกาศหยุดภาษี 90 วัน
ความผันผวนในระยะใกล้เช่นนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนถึงความไม่พอใจของตลาดที่มีต่อนโยบายของทรัมป์ และไม่ได้ช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงแต่อย่างใด
ความจริงก็คือ นักลงทุนในตลาดสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้น ภาษีการค้า – โดยเฉพาะภาษีในระดับที่ทรัมป์ต้องการ – อาจส่งผลกระทบในวงกว้างและคาดเดาไม่ได้ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในช่วงที่กำลังจะมาถึงนี้กำลงผลักดันให้นักลงทุนมองหาวิธีป้องกันความเสี่ยง ทำให้ความสนใจต่อการกระจายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น คำถามก็คือ นักลงทุนควรพิจารณาลงทุนในรูปแบบใดต่อไป?
เอเชีย – เพราะเหตุใดจึงกลับมาเป็นที่จับตามอง
ในขณะที่เขียนบทความนี้ รัฐบาลของทรัมป์ได้กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไว้ที่ 145% ในขณะเดียวกันก็กำหนดภาษีนำเข้าสำหรับประเทศอื่น ๆ ไว้ที่ 10% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง
แม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าภาษีศุลกากรจะสิ้นสุดลงที่ใด แต่ท้ายที่สุดแล้ว นโยบายการค้าของทรัมป์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการค้าโลก โดยจะทำให้ซัพพลายเชนย้ายออกจากจีน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเอเชีย ซึ่งมีหลายประเทศที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการรับคำสั่งซื้อ
ธุรกิจที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรอาจหันไปเลือกซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายอื่นในเอเชีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะเรียกเก็บราคาที่สูงกว่า แต่ธุรกิจก็ยังคงมีกำไรหากต้นทุนโดยรวมยังต่ำกว่าภาษีที่ต้องจ่าย
นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ อาจเปิดโรงงานผลิตในเอเชียเพื่อประกอบชิ้นส่วนขั้นสุดท้ายก่อนส่งออก ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้ยังคงได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบและส่วนประกอบพื้นฐานราคาถูกจากจีน ขณะเดียวกันก็ได้รับภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าสำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากแหล่งผลิตขั้นสุดท้ายไม่ได้อยู่ในจีน
หากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นจริง เศรษฐกิจของเอเชียอาจเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น และมีคำสั่งซื้อจากบริษัทสัญชาติอเมริกันและบริษัทข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น
พัฒนาการที่อาจเกิจขึ้นนี้ส่งผลให้อาเชียได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักลงทุนทั่วโลก
สปอตไลท์ส่องไปที่ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกงกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดสำคัญท่ามกลางพลวัตการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดโดยย่อของแต่ละประเทศ:
ญี่ปุ่น: แสวงหาเสถียรภาพท่ามกลางความไม่แน่นอน
ดัชนี Nikkei225 ของญี่ปุ่นไม่สามารถต้านทานความวุ่นวายในตลาดโลกได้ แม้ว่าญี่ปุ่นจะพยายามเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาษีนำเข้า แต่ปัญหาเศรษฐกิจที่หยั่งรากลึก เช่น อัตราเงินเฟ้อต่ำและการเติบโตของค่าจ้างที่อ่อนแอ ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติ
เมื่อพิจารณาจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากของญี่ปุ่น เทียบกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรป ดัชนี Nikkei225 จึงเปิดโอกาสให้ซื้อขายแบบ Carry Trade ผ่านฟิวเจอร์สที่เชื่อมโยงกับ Nikkei นอกจากนี้ ในช่วงที่หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ถดถอย Nikkei มักเคลื่อนไหวแตกต่างออกไปเนื่องจากโครงสร้างภาคส่วนที่มีสัดส่วนของหุ้นอุตสาหกรรมมากกว่า และหุ้นเต็บโตสูงน้อยกว่า ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจท่ามกลางแนวโน้มที่ไม่แน่นอนของสหรัฐฯ
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นมีการปรับตัวลงอย่างรุนแรง และขณะนี้กำลังดึงตัวกลับไปสู่ระดับ 36,200 จุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวรับ Fibonacci Retracement ที่ 78.6% ระดับแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 38,100 จุด และ 40,200 จุด ซึ่งตรงกับจุดสูงสุดเดิม หากเกิดแรงซื้อกลับขึ้นไปอย่างแข็งแกร่ง ในทางกลับกัน หากแรงขายยังคงต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้มที่จะลดลงสู่ระดับแนวรับบริเวณ 31,500 จุด ซึ่งสอดคล้องกับระดับ Fibonacci Retracement ที่ 78.6% และ Fibonacci Extension ที่ 50%
ฮ่องกง: ฝ่าฟันพายุที่โหมกระหน่ำ
ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงเผชิญกับการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบวัน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 2540 ท่ามกลางความตึงเครียดด้านการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงมีความยืดหยุ่น โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดในภูมิภาคและความพยายามของปักกิ่งในการรักษาเสถียรภาพให้กับตลาด
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีของจีน ดัชนี HSI ช่วยให้คุณเข้าถึงบริษัทของจีนได้ แต่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบในประเทศน้อยกว่า ซึ่งหมายความว่านักลงทุนหลากหลายกลุ่มสามารถเข้าถึงจีนผ่าน HSI ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้มีสภาพคล่องสูงกว่า
เครื่องหมาย: HSI, กรอบเวลา: รายวัน
ดัชนี HSI ยังคงอยู่ในเขตขาลง โดยอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน อาจเกิดการย่อตัวลงมาที่แนวต้าน 22,600 จุด ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้น Fibonacci หลายระดับมาบรรจบกัน ได้แก่ Fibonacci Retracement 61.8% และเส้น Fibonacci Extension 127.2% หากราคายังถูกกดดัน อาจเห็นการทดสอบระดับแนวรับด้านล่างที่ 19,000 และ 17,000 จุด และหากราคาดีดตัวแรง ราคาอาจกลับไปทดสอบระดับแนวรับสูงสุดที่ 24,700 จุดอีกครั้ง
จีน: การเดินเรือในน่านน้ำที่ปั่นป่วน
ตลาดหุ้นจีนเผชิญกับการร่วงลงอย่างหนักหลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ดัชนีหุ้นจีนร่วงลงกว่า 7% ในวันเดียว สะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้า
เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ ปักกิ่งตอบโต้ด้วยการใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและคำมั่นสัญญาที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงยืนกรานที่จะไม่ยอมอ่อนข้อ โดยตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 125% การดำเนินการเหล่านี้ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องรอดูว่าทรัมป์จะยกระดับความกดดันต่อปักกิ่งมากน้อยเพียงใด
China 50 ถือเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องสูงสุดสำหรับการเข้าถึงความเสี่ยงของหุ้นจีน โดยมีการเคลื่อนไหวระหว่างวันสูง ซึ่งดึงดูดใจผู้ซื้อขายที่ชอบการเก็งกำไร ตามข้อมูล PMI การลดค่าเงินหยวน หรือภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม
Ticker: CHINA50, กรอบเวลา: รายวัน
China 50 ยังคงถูกกดดันจากแนวโน้มขาลง และขณะนี้กำลังทดสอบแนวต้านจากการดีดตัวที่ระดับ 13,000 จุด ซึ่งสอดคล้องกับ Fibonacci Retracement 61.8% และ Fibonacci Extension 127.2%
หากแรงขายยังคงมีอยู่ เราอาจเห็นราคาลดลงสู่ระดับแนวรับที่ 11,800 และ 11,000 จุด ซึ่งเป็นระดับ Fibonacci Extension ที่ 61.8% และ 100% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หากมีการฟื้นตัวที่แรงขึ้น ราคามีโอกาสกลับไปที่ระดับสูงสุดก่อนหน้า 13,800 จุด
การเติบโตของตลาดเกิดใหม่
นอกเหนือจากเอเชียแล้ว ตลาดเกิดใหม่ยังอาจได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการค้าโลกอีกด้วย
ตลาดเกิดใหม่ หมายถึงประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมและเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยทั่วไป เศรษฐกิจดังกล่าวจะมีการลงทุน ผลผลิต และการส่งออกในระดับสูง ตัวอย่างบางส่วนของตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ บราซิล อินเดีย เม็กซิโก อียิปต์ ตุรกี แอฟริกาใต้ และเวียดนาม
ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาอย่างดี เศรษฐกิจเกิดใหม่หลายแห่ง ทั้งในและนอกเอเชีย ต่างก็มีความพร้อมที่จะรับคำสั่งซื้อ และกลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ตลาดเกิดใหม่ยังมีลักษณะเฉพาะคือการเติบโตของจำนวนประชากรที่สูงและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแซงหน้าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
รายงานจาก Pictet Asset Management ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ชาวสวิส คาดการณ์ว่าในปี 2568 เศรษฐกิจเกิดใหม่จะเติบโต 4.3% แซงหน้าตลาดพัฒนาแล้วที่เติบโต 1.6% [3]
การเข้าถึงเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่สามารถทำได้ผ่านกองทุน ETF หรือตราสาร CFD ที่ติดตามผลการดำเนินงานของพวกเขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและกฎข้อบังคับในท้องถิ่น ตัวอย่างหนึ่งคือกองทุน ฎธโ iShares MSCI Emerging Markets ex China (EXMC) ที่เปิดโอกาสให้ลงทุนในเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยไม่ต้องลงทุนในตลาดจีน
กรณีศึกษาตลาดเกิดใหม่: การกำหนดเส้นทางผ่านความไม่แน่นอน
หากต้องการเข้าถึงตลาดเกิดใหม่ในวงกว้างมากขึ้น ตัวอย่างหนึ่งคือ ETF iShares MSCI Emerging Markets Index Fund (EEM) ซึ่งเทรดเดอร์บางรายอาจเข้าถึงได้ผ่านผลิตภัณฑ์ CFD ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและกฎข้อบังคับในท้องถิ่น EEM เปิดโอกาสให้ลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางกว่า 800 แห่งในกว่า 20 ประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ เช่น จีน อินเดีย บราซิล และไต้หวัน การกระจายความเสี่ยงนี้สามารถช่วยลดความผันผวนและเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้สำหรับเทรดเดอร์รายย่อย
EEM แสดงโครงสร้างราคาที่คล้ายคลึงกันกับดัชนีอื่น ๆ ในบทความนี้ แนวโน้มขาลงทำให้ราคาลดลงมาทดสอบแนวรับที่จุดต่ำสุดที่ $38.50 ซึ่งสอดคล้องกับ Fibonacci Extension 50% ขณะนี้ราคากำลังดีดกลับไปที่แนวต้านที่ $42.80 ซึ่งสอดคล้องกับ Fibonacci Retracement 61.8% และ Fibonacci Extension 100% หากราคาดีดตัวต่อ ราคาอาจทดสอบแนวรับสูงสุดก่อนหน้าที่ $45.50 ซึ่งสอดคล้องกับ Fibonacci Extension 161.8%
ข้อคิดท้ายบท: การปรับสมดุลเพื่อโอกาสระดับโลก
แม้ว่าตลาดสหรัฐฯ จะดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมาอย่างยาวนาน แต่ความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงนั้นไม่สามารถมองข้ามได้ นักลงทุนอาจต้องพิจารณาสำรวจโอกาสอื่น ๆ นอกเหนือจากสหรัฐฯ เช่น ในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงที่หลากหลายยิ่งขึ้น
การพิจารณาตัวเลือกการลงทุนที่หลากหลายถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือต้องคอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลก และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ติดตามข่าวสารล่าสุดจากศูนย์การเรียนรู้ของ Vantage ที่มีข่าวสาร บทความ และทรัพยากรทางการตลาดล่าสุด และนำกลยุทธ์ของคุณไปปฏิบัติจริงผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายขั้นสูงของเรา เปิดบัญชีจริงวันนี้!
อ้างอิง
- “Trump Tariffs: The Economic Impact of the Trump Trade War – Tax Foundation” https://taxfoundation.org/research/all/federal/trump-tariffs-trade-war/ Accessed 14 April 2025
- “This chart explains why Trump backflipped on tariffs. The economic damage would have been huge – The Conversation” https://theconversation.com/this-chart-explains-why-trump-backflipped-on-tariffs-the-economic-damage-would-have-been-huge-253632 Accessed 14 April 2025
- “Emerging Markets Offer Safe Haven from Trump Tariffs: Swiss Analyst – Yahoo!Finance” https://finance.yahoo.com/news/emerging-markets-offer-safe-haven-120000559.html Accessed 14 April 2025